วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

โครงการอบรมเเละฝึกปฏิบัติศิลปะการจับผ้าขั้นพื้นฐาน


โครงการอบรมเเละฝึกปฏิบัติศิลปะการจับผ้าขั้นพื้นฐาน

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เวลา 09.00 - 15.00 น.
จัดโดย : นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการศึกษาปฐมวัย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


การสัมมนา
โครงการอบรมเเละฝึกปฏิบัติศิลปะการจับผ้าขั้นพื้นฐาน
ณ ตึก 4 คณะศึกษาศาสตร์ 


ลงทะเบียนเข้าเข้าอบรม




พิธีเปิดอบรม




ความรู้ที่ได้รับ


การใช้ผ้าเป็นวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งสถานที่ กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ในภายหลัง และสามารถเลือกสีของผ้า และรูปแบบของการตกแต่งได้ตามลักษณะของงาน จึงทำให้มีผู้ศึกษาวิธีการตกแต่งสถานที่ด้วยการผูกผ้าและจับจีบผ้าเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันผ้าเป็นวัสดุที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในงานพิธีหรือราชพิธีการต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของโครงสร้างใหม่ ๆ เช่น ฉากและม่านหรือในรูปแบบของเครื่องประดับตกแต่งเป็นระบายดอก เฟื่อง และระย้าเป็นต้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผ้ามิใช่วัสดุสิ้นเปลืองเมื่อเสร็จสิ้นประโยชน์ใช้สอยแต่ละครั้ง ก็สามารถนำมาทำความสะอาดและเก็บรักษาไว้ใช้ในงานครั้งต่อ ๆ ไปนานหลาย ๆ ครั้งต่างจากวัสดุธรรมชาติที่ถูกนำมาดัดแปลงประดิษฐ์ใช้ในการประดับตกแต่ง เช่น ดอกไม้สด ใบ กิ่งก้าน และลำต้น
เหล่านี้ล้วนมีขีดจำกัดทางกายภาพ การนำมาใช้งานจะอยู่ได้ภายในระยะเวลาจำกัด สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และต้องคอยดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอให้คงสภาพอยู่ได้ นับเป็นความยุ่งยากและสิ้นเปลืองกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ผ้า

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม = ผ้า เข็มหมุด เทปกาว เชือกฟาง
รูปแบบของการผูกผ้าและการจับจีบผ้า 3 รูปแบบ คือ
1. ดอก คือ ส่วนสำคัญขององค์ประกอบการทั้งหมด ถูกกำหนดให้เป็นจุดเด่น
2. เฟื่อง คือ องค์ประกอบในการผูกผ้าเพื่อแก้ปัญหาด้านพื้นที่ เวลา และโครงสร้าง 3. ระย้า คือ การผูกผ้าที่มีลักษณะเป็นพวงพุ่ม จะอยู่ภายใต้ดอกหรือเฟื่อง


การจับจีบผ้าลายต่าง ๆ ดังนี้
- ลายจีบตามกัน
- ลายจีบกระทบ
- ลายพัดคร่ง
- ลายผีเสื้อ
- ลายสับประรด
- ผูกผ้าที่ใช้กับเวที

ประโยชน์ของการผูกผ้าและการจับจีบผ้า

ประโยชน์ของการผูกผ้า คือ การนำผลงานไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของงานที่ได้รับมอบหมาย กับผลงานที่ได้รับมอบหมาย ประโยชน์ที่ใช้ในการตกแต่งสถานที่ที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่น อันมีประธานและรองประธาน โดยเรียงลำดับตามความสำคัญ ใช้ตกแต่งโครงสร้างเคลื่อนที่และโครงสร้างถาวร โดยใช้การตกแต่งด้วยการผูกผ้า ด้วยดอก,เฟื่อง,ระย้า

ประโยชน์ของการจับจีบ หมายถึง การนำผลงานไปใช้ให้ตอบสนองความต้องการของงานนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม ใช้ในการจัดตกแต่งสถานที่ในงานประเภทต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานสาธิตต่างๆ การประชุมสัมมนา การจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟ่ต การจัดเลี้ยงโต๊ะจีน โต๊ะลงทะเบียน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของการจัดงานที่สำคัญ เพราะถือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ( Structure Standard) ก่อนที่ส่วนต่างๆจะลงมือตกแต่งได้ ปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตกแต่งสถานที่ในโรงแรม และการบริการจัดเลี้ยงโต๊ะจีนฯลฯ

ภาพประกอบการอบรมสัมมนา

































กล่าวปิดอบรมสัมมนา









การประยุกต์ใช้ 

นำไประยุคต์ใช้ในกิจกรรมต่างในอนาคตไม่ว่าขะเป็นงานของโรงเรียน งานบุญหรือเนท่องในโอกาสต่างๆ ก็จะได้นำความรู้การจับผ้าในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ในต่อๆไปค่ะ


การประเมิน

ตนเอง : เข้าอบรมทำกิจกรรม และได้ลงปฏิบัติการจับผ้าด้วยตนเอง
เพื่อน : อบรมและจัดสัมมนา ร่วมกับปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยความตั้งใจ
อารจารย์ : อธิบาย ชี้แนะ แนะนำแนวทางเพิ่มเติม และคอยช่วยเหลื่อในส่วนต่างๆ

อบรมการสร้าง Animation ด้วย PowerPoint

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายฯ พ.ศ. 2561


เข้าอบรม
การสร้าง Animation อย่างง่ายด้วย Microsoft PowerPoint


ความรู้ที่ได้รับ 

การสร้าง Animation อย่างง่ายด้วย Microsoft PowerPoint คือ ข้อความ รูปภาพ รูปร่าง ตาราง, กราฟิก SmartArt และวัตถุอื่นๆ ให้เป็นภาพเคลื่อนไหวในงานนำเสนอ PowerPoint ได้
เอฟเฟ็กต์สามารถทำให้วัตถุปรากฏขึ้น หายไป หรือเคลื่อนย้ายได้ ทั้งยังสามารถเปลี่ยนขนาดหรือสีของวัตถุได้

วีดีโอเทคนิควิธีการสร้างAnimation อย่างง่ายด้วย Microsoft PowerPoint
คลิ๊กเลย>>>>ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างที่ 2








การประยุกต์ใช้ 

นำความรู้ที่ได้นำไปใช้ในการสร้างสื่อการเล่านิทานประกอบการสอน และใช้ในการนำเสนองานได้


การประเมิน
ตนเอง : เข้าอบรม
เพื่อน : และอบรมและจัดสัมมนา
อารจารย์ : อธิบาย ชี้แนะ แนะนำแนวทาง

อบรม เทคนิคการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษ

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายฯ พ.ศ. 2561



เข้าอบรม
เทคนิคการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย




ในยุคที่ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของคนไทยมากขึ้น เชื่อว่า พ่อแม่ทุกๆคนอยากให้ลูกใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นและใช้ได้ดี แต่การจะพัฒนาทักษะทางภาษาให้ลูกอย่างได้ผลนั้น หลายๆท่านอาจมีคำถามว่า แล้วจะให้ลูกเริ่มเรียนเมื่อไรถึงจะใช้ได้ดี และใช้ได้เป็น วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากสถาบันสอนภาษาพิงกุมาฝากเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านกัน

“ เด็กวัยนี้เรียนรู้ด้วยวิธีการซึมซับจากตัวแบบ ดังนั้นถ้าครูพูดภาษาอังกฤษกับเด็กในชั้นเรียนสม่ำเสมอหรือคุณพ่อคุณแม่พูดภาษาอังกฤษที่บ้านเป็นประจำเด็กก็จะเรียนรู้และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีได้ไม่ยาก ”

สำหรับปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยท่านนี้ บอกว่า เด็กต้องสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลากหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือก และพัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน


เทคนิคการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย นับว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่จะสามารปูพื้นฐานภาษาอังกฤษและทำให้เด็กรักการเรียนรู้ในเรื่องของภาษา ซึ่งถ้าครูปฐมวัยไม่เก่งอังกฤษเราจะทำอย่างไรในการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษให้กับเด็ก โดยในการสัมมนาครั้งนี้ก็สรุปเทคนิคได้ดังนี้

เทคนิคการสอนคำศัพท์
1. เลือกคำศพท์ ควรจัดคำศัพท์ให้อยู่ในหมวดหมูเดยวกันจะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับอาหาร อวัยวะร่างกาย เป็นต้น
2. วิธีการสอน จะเน้นให้เด็กฝึกการใช้คำศัพท์ จะต้องทบทวนบ่อยๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
3. การสอนศัพท์ใหม่ควรสอนให้ผ่านประสาทสัมผัสให้มากที่สุด โดยใช้รูปแบบประโยคหรือศัพท์ที่เด็กเคยเรียนรู้มาแล้ว โดยมีคำศัพท์ใหม่เพียงคำเดียว

เทคนิคการใช้นิทาน
1. การเลือกนิทาน ต้องเป็นนิทานสั้น ๆ มีภาพประกอบ เน้นคำศัพท์ ให้เด็กมีส่วนร่วม
2. การเล่านิทาน ต้องพุดคุยในหัวข้อที่จะเล่า สร้างบรรยาการศ ใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเรื่อง ใช้ท่าทางและสีหน้าประกอบการเล่า
3. การจัดการชั้นเรียน คือการสร้างบรรยากาศให้แปลกใหม่
4. สื่อประกอบการเล่านิทาน จะต้องดึงดูดและน่าสนใจ

เทคนิคการใช้เพลง
1. การเลือกเพลง จะต้องไม่ยาว มีทำนองซ้ำ ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์และเหมาะสมกับวัย
2. ลำดับขั้นตอนการสอนเพลง
- อธิบายสั้นๆ ว่าเป็นบทเพลงเกี่ยวกับอะไร
- ครูร้องให้เด็กฟัง 1 - 2 รอบ
- ครูร้องนำและให้เด็ก ๆ ร้องตาม
- ครูร้องพร้อมกับเด็กตั้งแต่ต้นจนจบ










อบรมสัมมนา Executive Function (EF)

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561


เข้าร่วมสัมมนา
โครงการพัฒนาทักษะ EF เพื่อครูปฐมวัย สู่เด็กอนุบาล


ความรู้ที่ได้รับ

ได้เข้าร่วมกิจกรรมกระตุ้นสมอง เตรียมพร้อมด้วยการเล่นเกม "กล้วย กล้วย"
โดยมีกติการการเล่นคือ แบ่งเพื่อนๆ ออกเป็น 2 กลุ่ม ตอบชื่อภาพยนตร์โดยให้ใส่คำว่า "กล้วย"
ลงไปในชื่อนั้นด้วยพร้อมทั้งบอกที่มา เช่น
- สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ากล้วย สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ารัก
- พี่กล้วยพระขโขนง พี่มากพระโขนก
กิจกรรมความหมายความสำคัญของ EF

จับจิ๊กซอร์ 1 ชิ้น สีของจิ๊กซอว์ที่ได้ก็จะต่างกัน และจับกลุ่มตามสีของจิ๊กซอว์ที่ได้คือสีเขียวและสีน้ำตาลต่อจิ๊กซอว์ให้สมบูรณ์ ซึ่งในจิ๊กซอว์จะมีข้อความที่เป็นความหมายและความสำคัญของ EF

เนื้อหาความรู้ Executive Function

EF (Executive Functions) คือ ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าของมนุษย์ทุกคน ที่ใช้ในการกำกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

EF (Executive Functions) เป็นทักษะที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียน การงาน การอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ การคิดสร้างสรรค์ และการจัดการทุกด้านตลอดชีวิต
จัดการความรู้และสรุปดังนี้ EF มีองค์ประกอบ 9 ด้าน จัดเป็น 3 กลุ่มทักษะ (3x3)




EF คือสันดานดีที่สร้างสรรค์
ทักษะสมอง EF ที่แข็งแรง ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง โดยเรียนรู้ผ่านการลงมือทำและประสบการณ์ที่หลากหลาย เมื่อฝึกจนแข็งแรง ทักษะEF จะถูก “ฝังชิป” ในสมองและก็จะคงอยู่เป็นนิสัยหรือคุณสมบัติของคนนั้นไปตลอดชีวิต


EF เริ่มไว ได้เปรียบ
3-6 ปี ช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการพัฒนา EF เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะพัฒนา EFได้ แต่จะพัฒนาได้แค่ไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนผ่านประสบการณ์ต่างๆ ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก และต่อไปยังวัยรุ่น





กิจกรรมส่งเสริมทักษะ Executive Function อันได้แต่
- กิจกรรม Follow me please
- กิจกรรมทางแห่งรัก
- กิจกรรมเขาวงกต


ภาพประกอบหารอบรมสัมมนา










การประยุกต์ใช้

ประยุคใช์ในการคิดและการเรียนการสอนในต่อๆไป


การประเมิน
ตนเอง :เข้าร่วมสัมมนา ทำกิจกรรม
เพื่อน : ฟังบรรยายและทำกิจกรรม
อารจารย์ : อธิบาย ชี้แนะ แนะนำแนวทางเพิ่มเติม

อบรม Augmented Reality (AR)

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายฯ พ.ศ. 2561



จัดอบรม
โครงการเทคโนโลยี AR ในการสร้างสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย


เนื้อหา

Augmented Reality (AR) คืออะไร
AR ย่อมาจากคำว่า Augmented Reality หรือในภาษาไทยที่เรียกกันว่า
"เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน" เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์รวมกับการใช้ซอร์ฟแวร์ต่างๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเป็นวัตถุ (Object) แสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง มีการแสดงผลที่แสดงวัตถุมีการเคลื่อนไหว ดูมีมิติ มีความตื่นเต้นเร้าใจ

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนนั้นถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณ 40 กว่าปีที่แล้ว โดยนายอีแวน ซูเทอร์แลนด์ (Ivan Sutherland) ได้ทำการประดิษฐ์จอภาพสวมศีรษะสามมิติขึ้นมา และนำไปใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงดังกล่าว โดยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนมีขั้นตอนการแสดงผลคืน เมื่อผู้ใช้สวมจอภาพสวมศีรษะจอภาพจะเติมเต็มภาพในการมองเห็นด้วยภาพลักษณะสามมิติที่ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับจอภาพสวมศีรษะ และเมื่อสัมผัสกับสิ่งของเสมือน ก็จะรู้สึกรับรู้เสมือนกับจับต้องของสิ่งนั้นจริง เนื่องจากถุงมือแม่เหล็กนั่นเอง ในช่วงแรกนั้นเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน ถูกนำไปพัฒนาเป็นเทคโนโลยีจำลองการบิน ซึ่งได้มีการปรับปรุงให้จอภาพสวมหัวสามมิติมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น เพื่อให้นักบินที่สวมใส่เกิดความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเสมือนมากยิ่งขึ้นและมีการสร้างภาพจำลองเสมือนมีเครื่องบินลำอื่นปรากฏอยู่ด้วยเพื่อใช้ในการฝึกบินด้วยประสบการณ์เสมือนจริง


ชนิดของ Augmented Reality

AR สามารถแบ่งแยกชนิดหลักๆ ได้ 2 ชนิดหลัก ๆ คือ
- Marker-Based : ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบเครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นใบปลิว โบรชัวร์ต่าง ๆ ผู้ใช้ทำการ scan ด้วยกล้องจากตัว smartphone เพื่อแสดงภาพ 3 มิติ
- Location-Based : ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้ Smartphone scanจากภาพ เพียงแค่ใช้ GPS ของเครื่องนั้น ๆ ก็สามารถแสดงภาพ 3 มิติได้

องค์ประกอบของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย

1. AR Code หรือตัว Marker ใช้ในการกำหนดตำแหน่งของวัตถุ
2. Eye หรือ กล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ ตัวจับ Sensor อื่นๆ ใช้มองตำแหน่งของ AR Code แล้วส่งข้อมูลเข้า AR Engine
3. AR Engine เป็นตัวส่งข้อมูลที่อ่านได้ผ่านเข้าซอฟต์แวร์หรือส่วนประมวลผลเพื่อแสดงเป็นภาพต่อไป
4. Display หรือ จอแสดงผล เพื่อให้เห็นผลข้อมูลที่ AR Engine ส่งมาให้ในรูปแบบของภาพหรือวีดีโอ
หรืออีกหนึ่งวิธี เราสามารถรวมกล้อง AR Engine และจอภาพ เข้าด้วยกันในอุปกรณ์เดียว เช่น โทรศัพท์มือถือหรืออื่น ๆ

ความเป็นมาของเทคโนโลยี AR

เทคโนโลยี AR นั้นถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณ 40 กว่าปีที่แล้ว โดยนายอีแวน ซูเทอร์แลนด์ ได้ทำการประดิษฐ์จอภาพสวมศีรษะสามมิติขึ้นมา และนำไปใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงดังกล่าว โดยเทคโนโลยี AR มีขั้นตอนการแสดงผลคือ เมื่อผู้ใช้สวมจอภาพสวมศีรษะ จอภาพจะเติมเต็มภาพในการมองเห็นด้วยภาพลักษณะสามมิติที่ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับจอภาพสวมศีรษะ และเมื่อสัมผัสกับสิ่งของเสมือน ก็จะรู้สึกรับรู้เสมือนกับจับต้องของสิ่งนั้นจริง เนื่องจากถุงมือแม่เหล็กนั่นเอง
ต่อมา เทคโนโลยี AR ได้กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เมื่อ NASA ได้สร้างจอภาพสวมศีรษะสามมิติราคาถูกขึ้นมา โดยการร่วมมือกันของนักเขียนโปรแกรมและผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อมาได้ถูกนำไปใช้ในการฝึกกองทัพอากาศของ NASA แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี AR ก็ยังคงถือเป็นเทคโนโลยีที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถเป็นเจ้าของในลักษณะส่วนบุคคลได้ เนื่องจากราคาของอุปกรณ์และความซับซ้อนของการใช้งาน
ปัจจุบันมือถือและการสื่อสารข้อมูลไร้สาย รวมทั้งการประมวลต่างๆ มีความรวดเร็วขึ้นและมีราคาถูก จึงทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแทบเล็ตทำให้เทคโนโลยีที่อยู่แต่ในห้องทดลองกลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่ายๆ ไปแล้ว โดยในช่วง 2-3 ปีมานี้ AR เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ แต่อนาคตยังไปได้อีกไกล และสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางหลากหลาย ทั้งด้าน อุตสาหกรรม การทหาร การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร และการศึกษา


HP Reveal

HP Reveal หรือ ออรัสม่า (AURASMA) เป็นแอพลิเคชั่นสำหรับการสร้างสื่อแบบเสมือนจริง (Augmented Reality: AR) เช่น ภาพเคลื่อนไหวดีดีทัศน์ และภาพ 3 มิติ เหมาะสำหรับการสร้างสื่อที่ใช้กับ iphone iped รวมถึงอุปกรณ์พกพาที่ใช้ระบบปฏิบัติการ IOS หรือ Android โดยมีวิธีใช้ดังนี้
1. ดาวโหลดและติดตั้งแอพลิเคชั่น
2. ลงทะเบียนเพื่อเริ่มต้นการใช้งาน
3. เริ่มต้นทดลองการใช้งานที่เว็ปไซด์ http://www.aurasma.com
4. เลือกแท็บ "Campaigns"
5. เลือรูปภาพที่ต้องการบน iphone iped หรืออุปกรณ์พกพาที่ใช้ระบบปฏิบัติการ IOS หรือ Android เพื่อจับภาพไปยังรูปภาพที่เลือกไว้รอจนภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวีดีทัศน์ปรากฏ


ตัวอย่างสื่อการสอน


>>>พิพิธภัณฑ์ยุคใหม่ ซ้อนใส่กราฟฟิกและข้อมูล
แหล่งความรู้เก่าคลาสสิคอย่าง “พิพิธภัณฑ์” ต้องปรับตัวรับยุคสมัย เช่นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ (National Museum of Singapore) ที่ใช้เทคโนโลยี AR “ซ้อน” ข้อมูลและภาพเคลื่อนไหวไปบนของจริงตรงหน้า เช่นเมื่อยกมือถือส่องโครงกระดูกปลาวาฬ ก็จะเห็นคลิปปลาวาฬตัวเต็มๆ ซ้อนขึ้นมาว่ายน้ำส่งเสียงร้องในจอพร้อมข้อมูลให้กดอ่าน


>>>3D Printing
เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์แบบจำลองต้นแบบของสิ่งต่างๆ ออกมาได้ทันทีโดยเทคนิคการสร้างภาพเสมือนจริงขั้นเพื่อเป็นต้นแบบ และทำการพิมพ์ออกมาเป็นแบบจำลองที่สมบูรณ์ได้


ภาพประกอบสัมมนา










วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning log 9

Monday  22 October 2018

เตรียมความพร้อมก่อนสัมมนา
วันนี้เราได้เตรียมความพร้อมทุกออย่างที่จะใช้ในการสัมมนา ไม่ว่าจะเป็น

1. โครงการสัมมนา
2. คำสั่งแต่งตั้ง
3. เอกสารความรู้สำหรับผู้เข้าอบรม
4. กิจรรมที่ทำ
5. อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม
6. แบบทดสอบก่อน-หลังเข้าสัมมนา
7. ใบประเมิน

นอกจากนี้กลุ่มเรายังได้เตรียมตัวอย่างที่สื่อเทคโนโลยี AR ที่ให้เพื่อนได้ลองใช้ เเละเห็นภาพก่อนเข้าอบรมสัมนา เพื่อความเข้าใจง่ายมากขึ้นค่ะ


การประเมิน

ตนเอง : ประชุม เตรียมความพร้อมในการจัดสัมนา
 เพื่อน : ประชุม วางแผน เตรียมความพร้อม
อารจารย์ : อธิบาย ชี้แนะ แนะนำแนวทาง



Learning log 8

Monday  15 October 2018


วางแผน/พูดคุย/เขียนโครงการ

จากที่กลุ่มเราได้เลือกหัวข้อที่จะสัมมนาเรียบร้อยเเล้ว เราก็เขียนโครงการที่เรามุ่งเน้นที่จะให้ผู้เข้าอรมได้โดยมีหลักการและวัตุประสงค์ ดังต่อไปนี้ค่ะ

โครงการ เทคโนโลยี AR กับการสร้างสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ ในหลายๆ ด้าน ในส่วนของด้านการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยถือว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการสร้างสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยและทันต่อโลกโลกาภิวัตน์จากการสำรวจครูปฐมวัย
ในปัจจุบันพบว่า ครูปฐมวัยยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย ดังนั้นนักศึกษาจึงเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เรื่อง เทคโนโลยี AR กับการสร้างสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง เทคโนโลยี AR และการใช้โปรแกรม HP Reveal สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจรรมสำหรับเด็กปฐมวัยได้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยี AR
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปปรับใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้และจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดสู่กิจกรรมอื่นได้

เนื้อหา/หลักสูตร

โครงการเทคโนโลยีAR กับการสร้างสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยี AR การใช้โปรแกรม HP Reveal ซึ่งเป็นกิจกรรมหลัก มีการบรรยายให้ความรู้เรื่อง เทคโนโลยี AR รวมไปถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม HP Reveal กับผู้เข้าร่วมโครงการ

เป้าหมาย

เชิงปริมาณ : ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 15 – 20 คน
เชิงคุณภาพ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้ในเรื่องเทคโนโลยี AR และการใช้โปรแกรม HP Reveal
2. ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้
3. ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดสู่กิจกรรมอื่นได้

วัน เวลา และสถานที่จัดโครงการ

วันจันทร์ ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 08.00-12.30 น. ณ ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

รูปแบบการจัดโครงการ/เทคนิค

โครงการ เทคโนโลยี AR กับการสร้างสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการจัดโครงการในรูปแบบ การอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยเทคนิคในการจัดดังนี้

- การบรรยายและการอภิปรายให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมโครงการ เรื่อง เทคโนโลยี AR และ การใช้โปรแกรม HP Reveal
- การลงมือทำกิจกรรมการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้โปรแกรม HP Revael
- การสนทนาระหว่างผู้ร่วมกิจกรรม
- การสรุปปิดท้ายกิจกรรม


กลุ่มดิฉันได้วางแผนจัดทำแบบประเมินโครงการ และแบบทดสอบก่อน - หลังเข้าอบรบ ซึ่งเราได้กำหนดข้อสอบไว้ 10 ข้อ ให่ผู้เข้าอบรมได้ทดสอบโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องใส่ในกระดาษคำตอบ

และตรวจสอบคะแนนที่ได้โดยใช่โปรแกรม ZipGrade เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการตรวจคำตอบ







การประเมิน
ตนเอง : ประชุม วางแผน เพื่อเตรียมการจัดสัมมนา
เพื่อน : ประชุม วางแผน ในการจัดสัมมนา
อารจารย์ : อธิบาย ชี้แนะ แนะนำแนวทางเพิ่มเติม และค้นหาวิธีที่จะช่วยให้การสัมมนามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โครงการอบรมเเละฝึกปฏิบัติศิลปะการจับผ้าขั้นพื้นฐาน

โครงการอบรมเเละฝึกปฏิบัติศิลปะการจับผ้าขั้นพื้นฐาน วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 09.00 - 15.00 น. จัดโดย : นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขากา...